วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๖

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖
วันนี้อาจารย์เกี่ยวกับเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.) การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch) เช่น
               : ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
               : การประสมคำ
               : ความหมายของคำ
               : นำคำมาประกอบเป็นประโยค
2.) การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) คือ
                : เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ และการลงมือทำ
                : เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ
                :อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                 1.) การจัดสภาพแวดล้อม
                  2.) การสื่อสารที่มีความหมาย
                  3.) การเป็นแบบอย่าง
                  4.) การตั้งความหวัง
                  5.) การคาดหวัง
                  6.) การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
                  7.) การยอมรับนับถือ
                  8.) การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
บทบาทครู
                  -ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
                  -ผู้อำนวยความสะดวก
                  -ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก
สิ่งที่ได้รับในวันนี้
                  การเรียนในวันนี้สามรถนำไปประยุกต์ใช้สอนเด็กได้หลายๆด้าน รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนา พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยที่ดีอีกด้วย และในวันนี้อาจารย์ก็ได้มีสาระเพิ่มเติมให้กับพวกเราได้เห็น คือ ภาพบอกความหมายแทนคำ ซึ่งการเรียนในวันนี้ทำให้กระผมประทับใจอย่างมาก การเรียนแบบนี้ทำให้เกิดความสนุก ไม่เครียด รู้อยากเรียนกับหลายวิชานี้อย่าง


วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๕

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖

 องค์ประกอบของการศึกษา
               1. เสียง (Phonology) 
                    -ระบบเสียงของภาษา
                    -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
                    -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
                2. ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
                    -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
                    -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
                    -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                3. ไวยากรณ์ (Syntax)
                   - คือ ระบบไวยากรณ์
                   - การเสียงรูปประโยค
                4. Pragmatic
                   - คือระบบการนำไปใช้
                   -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดนักการศึกษา
   Skinner
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
   John B. watson
           -ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
           -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
         - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
         - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
         - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
         - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
         - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
   Piaget
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
   Arnold Gesell
         - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
         - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
         - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
         - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด
    Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
           - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice) 

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
            - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
            - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
            - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
    2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
            - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
            - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
    3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
            - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
           - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


ในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ได้ให้วาดภาพสิ่งที่ชอบของแต่ละคน ซึ่งสิ่งที่กระผมชอบ คือ ผ้าขนหนู


       ตอนเด็กๆ กระผมจะติดผ้าขนหนูมาก เวลาทำกิจกรรมใดต้องมีติดตัวตลอด โดยเฉพาะเวลานอนต้องมีไว้ข้างๆตัวถึงจะนอนหลับ เพราะ เวลากอดผ้าขนหนูจะดูอบอุ่น ถ้าขาดผ้าขนหนูก็จะรู้สึกว่าขาดอะไรไป

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๔

วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖

การเรียนในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอตามหัวข้อที่ตนได้รับ ดังนี้

  กลุ่มที่ ๑ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย สังเกต ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งได้ถ่าย วีดีโอ เด็กชั้นอนุบาล ๒ เด็กมีการร้องเพลง ท่องภาษาอังกฤษ และมีการายงาน power point เรื่องความหมาย/ความสำคัญของภาษา
  กลุ่มที่ ๒ นำเสนอ power point แนวคิดนักทฤษฎีทางภาษาของเด็กปฐมวัย เช่น เพียเจต์ ให้แนวคิดว่า การเรียนรู้ของเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอน
  กลุ่มที่ ๓ นำเสนอ power point พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กแรกเกิด - ๒ ปี ว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไร ? เช่น อายุ ๓ เดือน เด็กจะส่งเสียงร้องอ้อแอ้ อายุ ๖ เดือน เด็กจะสนใจกับเงา
  กลุ่มที่ ๔ นำเสนอ วีดีโอ พัฒนาการของเด็กอายุ ๒ - ๔ ปี ณ โรงเรียนอนุบาลคหกรรมฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นอนุบาล ๑ มีการถามชื่อ/ถามเกี่ยวกับการเรียนของเด็ก
  กลุ่มที่ ๕ กลุ่มของผมเอง นำเสนอเด็กช่วงอายุ ๔ - ๖ ปี ถามเกี่ยวกับชื่อน้อง การเรียนของน้อง การร้องเพลง โดยมีการฝึกให้น้องกล้าแสดงออกทางภาษาด้วย
  กลุ่มที่ ๖ นำเสนอ power point ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ พร้อม วีดีโอ น้องเจดี อายุ ๔ ปี อยู่ชั้นอนุบาล ๒ ร้องเพลงกังนัมสไตล์และแสดงท่าทางด้วย
  กลุ่มที่ ๗ รายงานเรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย พร้อมกับนำเสนอ วีดีโอ ถ่ายเด็กเล่นด้วยกัน การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นรวมถึงการช่วยเหลือตนเองของเด็กด้วย
  กลุ่มที่ ๘ นำเสนอ power point องค์ประกอบของภาษา ได้รู้ถึงหลักไวยากรณ์ ความหมายของเสียง เสียงของเด็ก เช่น เสียงเฮะ หมายความว่า ไม่สบายตัวกรือรู้สึกเปียกชื้น เด็กจะหาวิธีพยายามบอกพ่อและแม่
  กลุ่มที่ ๙ มีการนำเสนอ วีดีโอ รายการโทรทัศน์ครู เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย การสอนแบบธรรมชาติิ ผู้ใหญ่ควรตระหนักเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก
   ซึ่งการเรียนในครั้งนี้ ถือว่าได้ความรู้อย่างมากและเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตที่ดีได้อย่างแน่นอน

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๓

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๒

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖


  การเรียนในวันนี้เรียนเรื่องความสำคัญของภาษาโดยภาษามีความสำคัญด้านการฟัง การอ่าน การพูดและการเขียน
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย ๒ กระบวนการ คือ
 ๑.การดูดซึม
๒.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้าใจกับสิ่ง แวดล้อมใหม่


รวมทั้งยังได้เรียนถึง พัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้ด้านภาษา ซึ่งแบ่งได้เป็น


๑.ความพร้อม
๒.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
๓.การจำ
๔.การให้แรงเสริม


  การเรียนในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต คือ การที่เรารู้ถึงความแตกต่าง พัฒนาการของเด็กโดยการนำไปสอน ฝึกทักษะในตัวบุคคลและถือเป็นการหาวิธีการในสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาที่ดีได้อีกด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑

 วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖


การเรียนในครั้งนี้ ได้ทำงานเป็นกลุ่มในหัวข้อเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งถือว่า เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันภายในกลุ่ม อีกทั้งในการเรียนวันนี้ทำให้เรารู้ถึงการใช้ภาษา
รวมถึงแนวทางในการสอนภาษาให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญต่ออนาคตของเราอย่างมาก
ซึ่งการสอนภาษาให้กับเด็กนั้น สามารถสอนได้หลายทางด้วยกัน โดยเราจะมีวิธีการสอนที่ต่างกัน
แต่ในการสอนนั้นควรมีความสอดคล้องและสัมพันธ์เกี่ยวกับด้านภาษาของเด็ก