วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๑๖

วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖

ในวันนี้อาจารย์ให้สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ซึ่งกระผมสรุปมาได้ดังนี้






       

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑๕

วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๖

ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม ทำแผนการเรียนตามความสนใจของตนเอง

โดยเริ่มจากการทำผังความคิดและจึงเริ่มเขียนแผน

โดยมีดังต่อไปนี้


กลุ่มของผมหน่วยปลาสอนเรื่องประโยชน์ต่างๆจากปลา





การนำเสนอของกลุ่มผม


หน่วยผลไม้ สอนเกี่ยวกับสีของผลไม้



หน่วยกว่าจะมาเป็นผีเสื้อ สอนวัฏจักรของผีเสื้อ




หน่วยกบ สอนเรื่องวัฏจักรของกบ


หน่วยกุ๊กไก่  สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของไก่




เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็ได้สรุปเพื่อความเข้าใจอีกครั้ง




ประโยชน์ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้ : ทำให้เรารู้จักการวางแผน หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ

และทำให้เราสามารถนำไปใช้ในอนาคตของเราได้ดีอีกด้วย




วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๑๔




วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๖

ในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกแบบมุมต่างๆที่พัฒนาทักษะทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มของกระผมได้ทำมุมเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมุมนี้จะเน้นทั้งภาษาและวิถีชีวิตที่ยั่งยืน
โดยเราจะปลูกฝังเด็กตั้งแต่ชั้นปฐมวัยให้รู้จักพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน
เพื่อให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคต






กลุ่มของผมเองครับ...มุมเศรษฐกิจพอเพียง









การนำเสนอผลงาน




มุมครัว สอนเด็กเรื่องอุปกรณ์ เครื่องใช้ในห้องครัว





มุมอาเซียน สอนเรื่องชุดประจำชาติ คำทักทาย






มุมอาเซียนอีกหนึ่งกลุ่มนะครับ สอนโดยใช้หุ่นจำลองแต่ละประเทศ






มุมดนตรี สอนเกี่ยวกับเครื่องดนตรีทั้งของไทยและต่างชาติ






มุมนี้สวยมากๆๆเลยครับ มุมบทบาทสมมติ เป็นมุมที่ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติสิ่งที่เด็กชอบและสนใจ
คนนำเสนอวาดรูปเก่งมากๆเลยครับ





มุมสัตว์น้ำ สอนเกี่ยวกับสัตว์น้ำและธรรมชาติในน้ำ




 ทุกๆมุมที่นำเสนอออกมาในวันนี้ ถือว่าน่าสนใจมากเลยครับ เพราะสามารถทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตในการสอนทักษะทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นการจัดมุมการเรียนการสอนของเด็กในแต่ละวันให้เด็กเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้นด้วยครับ ^^



  

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑๓

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๖

       ในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ได้เริ่มเข้าสู่บทเรียนด้วยการให้ตัวแทนนักศึกษาออกไปแสดงตามท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง โดยสื่อสารออกมาจากท่าทาง โดยแสดงเป็น งู ชะนี สุนัข ลิง ช้างและควาย




    อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง การที่ใช้คำในการสื่อสารแบบกำกวม หรือ ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ผิด



      ในช่วงเข้าสู่บทเรียน วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา  โดยการเรียนในครั้งนี้ได้กล่าวถึง สิ่งแวดล้อมสภาพแวดล้อมในการเสริมทักษะทางภาษาด้านต่างๆ ซึ่งการเรียนในครั้งนี้ก็ได้บอกถึงความหมาย ความสำคัญ ลักษณะทางด้านต่างๆ ซึ่งได้รับประโยชน์ในการนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างมาก




    ในการเรียนของเด็กปฐมวัยนั้นสามารถเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษา จากสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน คือ มุมต่างๆ ดังนี้




มุมบ้าน เด็กสามารถเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันและสิ่งรอบตัวของเด็กได้เป็นอย่างดี




มุมหนังสือเป็นมุมที่เด็กสามารถ เรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุด เพราะ เด็กจะได้เห็นคำจากหนังสือและเกิดความเคยชิน ความคุ้นตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทางภาษาได้เป็นอย่างดี




มุมบทบาทสมมติ เป็นมุมที่เด็กสามารถแสดง หรือเล่นในบทบาทที่ตนชอบ และได้แลกเปลี่ยนการสื่อสารกันระหว่างเพื่อนทำให้เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ภาษา การพูด กล้าแสดงความคิดเห็น การกล่าวทำทักทายรวมทั้งการสนทนาในเรื่องต่างๆของเด็ก





มุมวิทยาศาสตร์ เป็นมุมที่เด็กได้คิด คำนวณวิเคราะ ได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เดิมกับเพื่อนรวมทั้งเด็กยังได้เรียนรู้ภาษาที่แปลกใหม่ได้อีกด้วย




    เมื่อเข้าสู่บทเรียนเสร็จจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้คัดลายมือแบบหัวกลม ตัวเหลี่ยม เพื่อสามารถเป็นแบบในการใช้ทำงานในอนาคต โดยเริ่มฝึกคัดลายมือ เพราะลายมือแบบหัวกลม ตัวเหลี่ยม จะใช้เขียนเป็นต้นแบบให้เด็กเห็น ในการทำสื่อ การเขียนตาราง หรือกิจกรรมต่างๆควรใช้ลายมือแบบนี้




การคัดลายมือในวันนี้ โดนแก้ สองตัว คือ ฐ และ ธ อาจารย์บอกไม่เป็นไรแค่เริ่มต้น 555
ปล.ยังไงผมจะพยายามเขียนให้ดีที่สุดนะครับ





ประโยชน์จากการเรียนครั้งนี้ สามารถเป็แนวทางในการจัดห้องเรียนให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมของเด็กให้ได้รับความรู้ได้อย่างครบถ้วน

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๑๒

วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖


วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อที่พัฒนาทักษะทางด้านภาษาของเด็กโดยแบ่งกลุ่มละ ๕ คน แต่ละกลุ่มจะ

ออกแบบสื่อที่มีความแตกต่างกันออกไป เช่น บัตรภาพ การประสมคำ การเติมคำ เป็นต้น



กลุ่มของกระผมเลือกที่จะทำบัตรภาพจับคู่ผลไม้ ภาษาไทยและอังกฤษ



ผมทำหน้าที่วาดภาพผลไม้และออกแบบผลงาน




เพื่อนๆก็ช่วยกันออกแบบและตกแต่งผลงานจนสำเร็จ


       ประโยชน์ของกิจกรรมครั้งนี้  คือ สามารถเป็นแนวทางในการผลิตสื่อสอนเด็กในอนาคตโดยดู

จากรูปแบบต่างๆของแต่ละกลุ่ม และกิจกรรมครั้งนี้ยังช่วยในเรื่องของการพัฒนาทักษะทางด้านภาษา

ของเด็กได้ดีอีกด้วย


วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๑๑

วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๖

ในการเรียนการสอนครั้งนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา  โดยได้บอกถึง

      -ความหมาย  หมายถึง  วัสดุ อุปกรณ์หรือวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้นส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางภาษา

        -ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา  คือ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีจากประสามสัมผัส เข้าใจง่าย จำได้ง่าย เร็วและนาน 
                       
       -ประเภทของสื่อการสอน มี ๕ ประเภท คือ

๑. สื่อสิ่งพิมพ์

๒. สื่อวัสดุ

๓. สื่อโสตทัศนอุปกรณ์

๔. สื่อกิจกรรม

๕. สื่อบริบท


         หลังจากที่อาจารย์ได้สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้ทำสื่อตั้งโชว์สองภาษาคนละ ๑ ชิ้นดังนี้



ด้านนี้เป็นภาษาไทย เขียนว่า เทียนไข



ด้านนี้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่ง เทียนไข ในภาษาอังกฤษ คือ CANDLE


    ประโยชน์ของการเรียนการสอนครั้งนี้ คือ สามารถทำให้เราได้มีความสร้างสรรค์ในการทำสื่อโดยแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกันออกไปและสื่อที่ทำออกมามีความน่าสนในอย่างมาก ซึ่งถ้าเรานำไปใช้ในอนาคตจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราและเด็กปฐมวัยอย่างมาก


                        

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๑๐

วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖

     ในการเรียนครั้งนี้ อาจารย์ให้ทำสื่อเกี่ยวกับอาเซียน โดยแบ่งออกเป็นแต่ละกลุ่มซึ่งกลุ่มของกระผมได้ทำเกี่ยวกับธงอาเซียน เป็นสื่อที่มีความน่าสนใจมากและผมก็ได้ทำประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีสิ่งที่โดดเด่น คือ วัดที่รวมทั้งสามประเทศ และ มีสัตว์ประจำประเทศคือ ตะกวด 
ส่วนสีธงของประเทศอินโดนีเซีย คือ แดง-ขาว




          ประโยชน์ของกิจกรรมนี้ คือ สามารถเป็นเทคนิคในการสอนเด็กปฐมวัยได้ง่ายและเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจ ทันสมัย สามารถให้เด็กเกิดความรอบรู้ในเรื่องประเทศอาเซียนได้เป็นอย่างดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๙

วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๖

ในครั้งนี้กระผมไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากกลับไปต่างจังหวัดที่นครนายก 


บันทึกอนุทินครั้งที่ ๘

วันที่ื ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖

ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




บันทึกอนุทินครั้งที่ ๗

วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖

          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนวาดภาพอะไรก็ได้มาคนละ ๑ อย่างโดยกระผมเลือกที่จะวาดมงกุฎเจ้าชาย เมื่อแต่ละคนวาดภาพเสร็จอาจารย์ก็ให้ออกไปเล่านิทานโดยออกไปทีละคนตามภาพที่ตนเองวาดให้เป็นเรื่องเดียวกันตั้งแต่คนแรกถึงคนสุดท้าย


             ประโยชน์ของกิจกรรมนี้ คือ ทำให้เราสามารถมีทักษะทางด้านภาษา ในการแต่งประโยคหรือเนื้อเรื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับผู้อื่นและสามารถทำให้เราเกิดการแลกเปลี่ยนภาษาระหว่างผู้อื่นได้


      กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ก็มีกิจกรรมมาการเล่านิทานวาดไปเล่าไปมาให้ดู  
โดยกิจกรรมนี้สามารถทำให้เรานำไปใช้ในอนาคตได้ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กเกิดความสนใจเป็จอย่างมากและทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้ดีอีกด้วย




        ประโยชน์ที่ได้รับในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้และสามารถทำให้เราได้รู้ถึงวิธีการใช้ทักษะทางด้านภาษาที่จะใช้สอนเด็กในอนาคตได้ดีอีกด้วย



วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๖

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖
วันนี้อาจารย์เกี่ยวกับเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.) การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch) เช่น
               : ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
               : การประสมคำ
               : ความหมายของคำ
               : นำคำมาประกอบเป็นประโยค
2.) การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) คือ
                : เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ และการลงมือทำ
                : เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ
                :อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                 1.) การจัดสภาพแวดล้อม
                  2.) การสื่อสารที่มีความหมาย
                  3.) การเป็นแบบอย่าง
                  4.) การตั้งความหวัง
                  5.) การคาดหวัง
                  6.) การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
                  7.) การยอมรับนับถือ
                  8.) การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
บทบาทครู
                  -ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
                  -ผู้อำนวยความสะดวก
                  -ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก
สิ่งที่ได้รับในวันนี้
                  การเรียนในวันนี้สามรถนำไปประยุกต์ใช้สอนเด็กได้หลายๆด้าน รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนา พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัยที่ดีอีกด้วย และในวันนี้อาจารย์ก็ได้มีสาระเพิ่มเติมให้กับพวกเราได้เห็น คือ ภาพบอกความหมายแทนคำ ซึ่งการเรียนในวันนี้ทำให้กระผมประทับใจอย่างมาก การเรียนแบบนี้ทำให้เกิดความสนุก ไม่เครียด รู้อยากเรียนกับหลายวิชานี้อย่าง


วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๕

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖

 องค์ประกอบของการศึกษา
               1. เสียง (Phonology) 
                    -ระบบเสียงของภาษา
                    -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
                    -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
                2. ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
                    -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
                    -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
                    -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                3. ไวยากรณ์ (Syntax)
                   - คือ ระบบไวยากรณ์
                   - การเสียงรูปประโยค
                4. Pragmatic
                   - คือระบบการนำไปใช้
                   -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดนักการศึกษา
   Skinner
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
   John B. watson
           -ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
           -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
         - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
         - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
         - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
         - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
         - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
   Piaget
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
   Arnold Gesell
         - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
         - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
         - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
         - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด
    Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
           - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice) 

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
            - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
            - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
            - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
    2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
            - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
            - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
    3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
            - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
           - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


ในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ได้ให้วาดภาพสิ่งที่ชอบของแต่ละคน ซึ่งสิ่งที่กระผมชอบ คือ ผ้าขนหนู


       ตอนเด็กๆ กระผมจะติดผ้าขนหนูมาก เวลาทำกิจกรรมใดต้องมีติดตัวตลอด โดยเฉพาะเวลานอนต้องมีไว้ข้างๆตัวถึงจะนอนหลับ เพราะ เวลากอดผ้าขนหนูจะดูอบอุ่น ถ้าขาดผ้าขนหนูก็จะรู้สึกว่าขาดอะไรไป

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๔

วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖

การเรียนในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอตามหัวข้อที่ตนได้รับ ดังนี้

  กลุ่มที่ ๑ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย สังเกต ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งได้ถ่าย วีดีโอ เด็กชั้นอนุบาล ๒ เด็กมีการร้องเพลง ท่องภาษาอังกฤษ และมีการายงาน power point เรื่องความหมาย/ความสำคัญของภาษา
  กลุ่มที่ ๒ นำเสนอ power point แนวคิดนักทฤษฎีทางภาษาของเด็กปฐมวัย เช่น เพียเจต์ ให้แนวคิดว่า การเรียนรู้ของเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอน
  กลุ่มที่ ๓ นำเสนอ power point พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กแรกเกิด - ๒ ปี ว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไร ? เช่น อายุ ๓ เดือน เด็กจะส่งเสียงร้องอ้อแอ้ อายุ ๖ เดือน เด็กจะสนใจกับเงา
  กลุ่มที่ ๔ นำเสนอ วีดีโอ พัฒนาการของเด็กอายุ ๒ - ๔ ปี ณ โรงเรียนอนุบาลคหกรรมฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นอนุบาล ๑ มีการถามชื่อ/ถามเกี่ยวกับการเรียนของเด็ก
  กลุ่มที่ ๕ กลุ่มของผมเอง นำเสนอเด็กช่วงอายุ ๔ - ๖ ปี ถามเกี่ยวกับชื่อน้อง การเรียนของน้อง การร้องเพลง โดยมีการฝึกให้น้องกล้าแสดงออกทางภาษาด้วย
  กลุ่มที่ ๖ นำเสนอ power point ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ พร้อม วีดีโอ น้องเจดี อายุ ๔ ปี อยู่ชั้นอนุบาล ๒ ร้องเพลงกังนัมสไตล์และแสดงท่าทางด้วย
  กลุ่มที่ ๗ รายงานเรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย พร้อมกับนำเสนอ วีดีโอ ถ่ายเด็กเล่นด้วยกัน การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นรวมถึงการช่วยเหลือตนเองของเด็กด้วย
  กลุ่มที่ ๘ นำเสนอ power point องค์ประกอบของภาษา ได้รู้ถึงหลักไวยากรณ์ ความหมายของเสียง เสียงของเด็ก เช่น เสียงเฮะ หมายความว่า ไม่สบายตัวกรือรู้สึกเปียกชื้น เด็กจะหาวิธีพยายามบอกพ่อและแม่
  กลุ่มที่ ๙ มีการนำเสนอ วีดีโอ รายการโทรทัศน์ครู เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย การสอนแบบธรรมชาติิ ผู้ใหญ่ควรตระหนักเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก
   ซึ่งการเรียนในครั้งนี้ ถือว่าได้ความรู้อย่างมากและเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตที่ดีได้อย่างแน่นอน

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๓

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๒

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖


  การเรียนในวันนี้เรียนเรื่องความสำคัญของภาษาโดยภาษามีความสำคัญด้านการฟัง การอ่าน การพูดและการเขียน
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย ๒ กระบวนการ คือ
 ๑.การดูดซึม
๒.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้าใจกับสิ่ง แวดล้อมใหม่


รวมทั้งยังได้เรียนถึง พัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้ด้านภาษา ซึ่งแบ่งได้เป็น


๑.ความพร้อม
๒.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
๓.การจำ
๔.การให้แรงเสริม


  การเรียนในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต คือ การที่เรารู้ถึงความแตกต่าง พัฒนาการของเด็กโดยการนำไปสอน ฝึกทักษะในตัวบุคคลและถือเป็นการหาวิธีการในสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาที่ดีได้อีกด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๑

 วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖


การเรียนในครั้งนี้ ได้ทำงานเป็นกลุ่มในหัวข้อเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งถือว่า เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันภายในกลุ่ม อีกทั้งในการเรียนวันนี้ทำให้เรารู้ถึงการใช้ภาษา
รวมถึงแนวทางในการสอนภาษาให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญต่ออนาคตของเราอย่างมาก
ซึ่งการสอนภาษาให้กับเด็กนั้น สามารถสอนได้หลายทางด้วยกัน โดยเราจะมีวิธีการสอนที่ต่างกัน
แต่ในการสอนนั้นควรมีความสอดคล้องและสัมพันธ์เกี่ยวกับด้านภาษาของเด็ก